ครั้งแรก!! คาโอ ส่งโปรเจกต์ Upcycling “TurnTrash2Trendy” ยกระดับขยะพลาสติก สู่ของใช้พรีเมียมรักษ์โลกสุดสร้างสรรค์  ด้วยความตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงความสมดุลในการเติบโตของธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำให้ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างสรรค์ โครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy เพื่อเดินหน้าสู่ความยั่งยืน โดยเนรมิตขยะพลาสติกเหลือใช้ที่เกิดจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ กว่า 50 ตัน สู่ของพรีเมียมรักษ์โลกกว่า 2 แสนชิ้นที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า

.

๐ จุดเริ่มต้น โครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy

ภายใต้การดำเนินธุรกิจตามนโยบายและกลยุทธ์การดำเนินงานอย่างยั่งยืนของคาโอ (Kao ESG Strategy) หรือ “Kirei Lifestyle Plan” ในเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” หรือ “การสร้างโลกที่สะอาดและสมบูรณ์” จึงเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการจัดการขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2040 นั่นทำให้โครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy กำเนิดขึ้น โดยนำขยะพลาสติกที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต (Post-Industrial Recycled หรือ PIR) มา Upcycling เพิ่มมูลค่าผ่านการสร้างสรรค์เป็นของพรีเมียมในรูปแบบของใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งต่อความยั่งยืนนี้ให้ลูกค้าให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งโครงการนี้มีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจกจากการลดการใช้พลาสติกใหม่ (Virgin Plastic) อีกด้วย

.

๐ เมื่อขยะเหลือใช้ แปลงร่างกายเป็นของใช้ชิ้นใหม่สุดสร้างสรรค์

สำหรับโครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy คาโอได้นำขยะพลาสติกใหม่ที่เหลือจากกระบวนการผลิต ได้แก่ เศษพลาสติกที่เหลือจากการตัดขอบผ้าอนามัยลอรีเอะ (Trim) จำนวน 28,669 กิโลกรัม และบรรจุภัณฑ์ที่เหลือจากการปรับเปลี่ยนโฉมแบรนด์ผงซักฟอกแอทแทค เก็บสะสมเพื่อนำมา Upcycling แทนการทำลายทิ้งเหมือนในอดีต จำนวน 8,399 กิโลกรัม รวมทั้งหมดอยู่ที่ 37,068 กิโลกรัม มาผ่านขั้นตอนการล้าง และหลอมเป็นเม็ดพลาสติก เพื่อนำไปขึ้นรูปเป็นของพรีเมียมรักษ์โลกที่หลากหลาย ได้แก่ ตะกร้า, กะละมัง, กระเป๋า, กล่องอเนกประสงค์ และเก้าอี้นั่งมีฝา จำนวนทั้งสิ้น 202,020 ชิ้น เพื่อมอบให้เป็นของใช้ภายในบ้านสำหรับคุณแม่บ้านพ่อบ้าน โดยของพรีเมียมแต่ละชิ้นผลิตจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วในปริมาณที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

.

1. ตะกร้า 100 ใบ ใช้ส่วนประกอบพลาสติกจากถุงบรรจุภัณฑ์แอทแทค (Attack) ลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิตได้ 344 กิโลกรัม

2. กระเป๋า 100 ใบ ใช้ส่วนประกอบพลาสติกจากเศษผ้าอนามัยลอรีเอะ (Laurier) ลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิตได้ 22 กิโลกรัม

3. กะละมัง 100 ใบ ใช้ส่วนประกอบพลาสติกจากถุงบรรจุภัณฑ์แอทแทค (Attack) ลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิตได้ 27 กิโลกรัม

4. เก้าอี้นั่งมีฝา 100 ใบ ใช้ส่วนประกอบพลาสติกจากเศษผ้าอนามัยลอรีเอะ (Laurier) ลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิตได้ 55 กิโลกรัม

.

๐ ความสำเร็จของโครงการ ที่มาพร้อมกับความท้าทาย

นับว่าโครงการนี้ เป็นอีกหนึ่งในความท้าทายของคาโอ เพราะนอกจากต้องทดลองผลิตของพรีเมียมให้สามารถใช้ประโยชน์แล้ว ทั้งยังต้องตอบโจทย์ความต้องการ และสร้างความพึงพอใจของลูกค้า ให้เชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าพรีเมียมที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลว่าเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกตั้งต้น (Virgin Material) ถึงแม้อาจจะมีร่องรอยที่ชี้ให้เห็นว่าผ่านการกระบวนการรีไซเคิลมาแต่คุณภาพไม่ได้แตกต่างจากพลาสติกใหม่ อีกทั้งยังคงทนแข็งแรงและยังส่งต่อความยั่งยืนได้ ทำให้บริษัทได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากการทดลองครั้งแรกในปีที่ผ่านมา จนนำมาสู่การพัฒนาและเพิ่มจำนวนการผลิตมากขึ้นในปีนี้

.

๐ ‘คาโอ’ พร้อมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในอนาคต

ในอนาคต คาโอยังคงมีแผนที่จะสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ เพื่อตอกย้ำการมุ่งสู่การเป็นผู้นำธุรกิจสินค้าอุปโภคเพื่อความยั่งยืน และเดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2040 ในการแก้ปัญหาขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิต เราเชื่อว่าโครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม คาโอยังคงมุ่งมั่นพร้อมที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน และสังคม ไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต และหากลูกค้าสนใจของพรีเมียมรักษ์โลก สามารถติดตามข่าวสารโปรโมชันต่างๆ ของสินค้าภายใต้แบรนด์ของคาโอ ได้ตามช่องทางห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ แล้ววันนี้

.

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9670000004656