หนึ่งในต้นเหตุที่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น คือการกักเก็บความร้อนของวัสดุที่มนุษย์อย่างเราๆ นำมาใช้งาน เช่น สนามหญ้าเทียมที่ในวันท้องฟ้าปลอดโปร่ง แสงแดดแรง สามารถที่จะมีอุณหภูมิสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ทำให้บรรยากาศโดยรอบมีการความร้อนอบอ้าว

.

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยน้ำในประเทศเนเธอร์แลนด์ KWR Water Research Instituteจึงได้มีการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ด้วยการออกแบบสนามหญ้าเทียมแบบใหม่ โดยมีการติดตั้งระบบกักเก็บน้ำไว้ข้างใต้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิและการอมความร้อนลดลง

.

นักวิจัยเผยว่า อุณหภูมิบนสนามหญ้าเทียมที่สูงในวันที่มีแดดแรง อาจทำให้ผู้ที่สัมผัสเกิดอันตราย และผู้ที่ใช้งานอาจพบกับบรรยากาศที่ร้อน ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิด โรคลมแดดได้

.

การพัฒนาสนามหญ้าเทียมรูปแบบใหม่ มีการติดตั้งระบบการกักเก็บน้ำฝนที่ตกตามธรรมชาติ หรือน้ำประปาในช่วงที่ฝนไม่ตก เพื่อทำความเย็นให้สนามหญ้าเทียม ระบบนี้เป็นการสร้างชั้นกักเก็บน้ำใต้สนามหญ้า พร้อมกับมีกระบอกสูบน้ำส่งขึ้นไปยังสนามหญ้าเทียม น้ำจะเกิดการระเหยทำให้สนามหญ้าเย็นลงด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ

.

งานวิจัยในเรื่องนี้ ได้มีการทดลองโดยภาคสนามที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทีมวิจัยเผยการศึกษาว่า การสร้างชั้นกักเก็บน้ำภายใต้สนามหญ้าเทียม ช่วยให้อุณหภูมิลดได้จริง ในวันที่อากาศร้อน แต่อุณหภูมิของสนามหญ้าเทียมที่ติดตั้งระบบนี้ อยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับสนามหญ้าเทียมที่ไม่ได้ติดตั้งแล้ว ระดับอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

.

นอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิได้ดีแล้ว อีกข้อดีของระบบคือสามารถติดตั้งง่าย เนื่องจากวัสดุหาได้ไม่ยาก มีน้ำหนักเบา และความลึกในการวางโครงสร้างที่ตื้นไม่ซับซ้อน แต่ในการทดลองภาคสนามนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยค่าใช้จ่าย แต่ปัจจัยขึ้นอยู่กับขนาดของสนามและคุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้เป็นโครงสร้าง

.

สนามหญ้าเทียมแบบใหม่นี้ จึงเป็นอีกหนึ่งงานวิจัยที่ตอบโจทย์การช่วยลดการกักเก็บความร้อนและอุณหภูมิความร้อนที่นับวันจะยิ่งร้อนมากขึ้น และมากขึ้น

.

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9670000059742