ขยะจากผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ กำลังท่วมชายหาดทั่วโลก น่าแปลกที่ปูเสฉวนได้ปรับตัวโดยเลือกใช้สิ่งของต่างๆ เช่น ฝาขวด หลอดไฟ และถ้วยพลาสติกมาเป็นเปลือกหอย
นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า “บางทีภาพปูเสฉวนที่อาศัยอยู่ในเศษขยะเหล่านี้อาจสอนบทเรียนเกี่ยวกับการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่แทนการทิ้ง”

Purity Gakuo ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Kuza Freezer

บริษัท Kuza Freezer ในเมืองมอมบาซา ประเทศเคนยา ใช้ขยะพลาสติกที่เก็บได้จากชายหาดมาทำตู้แช่แข็งพลังงานโซลาร์เซลล์ ขนาดความจุ 70 ลิตร สำหรับแช่ปลา อาหารสด ล่าสุดดัดแปลงติดตั้งตู้ไว้ที่ท้ายมอเตอร์ไซค์เพื่อส่งอาหารสดๆ ถึงปลายทาง

ปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังจับตามองเพราะในปี 2562 พบว่าทั่วโลกมีปริมาณอาหารขยะมากกว่า 931 ล้านตัน จากการรายงานของ Food Waste Index Report 2021 โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ (UNEP) ซึ่งนอกจากจะเป็นการทิ้งอาหารให้สูญเปล่าแล้วยังเป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก เมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทย จากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2565 โดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พบว่าในปี 2565 มีขยะอาหารสูงถึง 9.68 ล้านตัน โดยคิดเป็นสัดส่วนของขยะอาหารในขยะมูลฝอยชุมชนสูงถึง 38% ซึ่งขยะอาหารส่วนมากจะเป็นเปลือกผลไม้และส่วนที่รับประทานไม่ได้ การจัดการขยะอาหารเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้อีกครั้งจึงเป็นหนทางสำคัญในการแก้ปัญหา เพียงแต่วิธีการนี้ก็ยังไม่ถูกใช้อย่างจริงจัง

งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกับความเร็วในการหมุนของโลกและอาจส่งผลต่อวิธีการที่มนุษย์ใช้นับเวลา